[Review] หนังสือ Reengineering the Corporation #1

Image

ใครเคยได้ยินคำว่า Reengineering มาก่อนบ้างงงงง ยกมือหน่อยยยยย!!

ถ้าเป็นรุ่นราวคราวเดียวกับผม (ปี89) น่าจะไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อน

แต่ใครจะรู้ล่ะ ว่าคำๆนี้เป็นคำยอดฮิต ที่องค์กรหรือบริษัทต่างๆใช้เรียกกัน ในยุค 90 (ผมเพิ่งเกิด)

เนื่องจาก Michael Hammer และ James Champy ได้เขียนหนังสือชื่อ “Reengineering the Corporation” ออกมา

และมันโด่งดังมาก ตอนแรกผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้จะโบราณและล้าสมัย แต่พออ่านดูแล้ว

พูดคำได้คำเดียวครับ “สุดยอด”

ไม่แปลกใจเลยที่หนังสือเล่มนี้ ตีพิมพ์ออกมาแล้วกว่า “ล้าน” เล่ม

ในบทแรก “The Crisis that will not Go Away”

เขาพยายามอธิบายให้เห็นว่า ทฤษฎีแบ่งงานกันทำของ Adam Smith ที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสูงสุด (Productivity) และเกิดการประหยัดจากขนาด (Economies of Scale) อันเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยนั้น ไม่เพียงพอต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอีกต่อไปแล้ว โดยกล่าวถึง “3 พลัง (3 Forces)” ที่เปลี่ยนแปลงไปจากโลกยุคเดิม หรือที่เรียกว่า 3Cs

  • 1.ลูกค้า (Custormer) – ลูกค้าสมัยใหม่นี้ มีข้อมูลข่าวสารที่สมบูรณ์ ส่งผลทำให้ลูกค้าเป็นผู้กำหนดความต้องการ ซึ่งแตกต่างจากสมัยก่อนโดยสิ้นเชิง
  • 2.การแข่งขัน (Competition) – สมัยนี้เกิดการเคลื่อนย้ายข้อมูลข่าวสาร,เงินทุน,และแรงงานอย่างเสรี หรือที่เราเรียกยุคโลกาพิวัตน์ (Globalization) ก่อให้บริษัทเกิดการแข่งขันกันมากขึ้น
  • 3.การเปลี่ยนเปลง (Change) – จากการที่เกิด Globalization จึงทำให้เกิดนวัตกรรม หรือ เทคโนโลยีใหม่ๆขึ้นมา ส่งผลทำให้สินค้ามีความหลากหลาย รวมไปถึงสินค้ามีอายุเวลา(Life Cycle)ที่สั้นลง

จาก 3Cs ที่เปลี่ยนไปนี้ ทำให้บริษัทต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด จะมีความคิดเหมือนเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลงไม่ได้อีกต่อไปแล้ว มิฉะนั้นก็ต้องออกจากตลาดไปในที่สุด

สิ่งสำคัญของการปรับตัวในยุคนี้ก็คือ การมุ่งเน้น “การดำเนินการ (Process)” ให้มากกว่า การแบ่งงานกันทำ (Task-Oriented Jobs)

ประโยคเด็ดที่โดนใจผมในบทนี้ ก็คือ ” Everyone is involved, but no one is in charge.”

มันมีความหมายว่า ทุกคนมีส่วนร่วมกับ Process แต่ไม่มีใครเลยที่รับผิดชอบมัน

ยกตัวอย่างเช่น สายการบิน X นำเครื่องบินลงจอดที่สนามบิน A  เพื่อนำไปซ่อม และได้เรียกช่างซ่อมจากสนามบิน B มาซ่อม แต่ปรากฎว่า ผู้จัดการของสายการบิน X ที่สนามบิน B ปฎิเสธไม่ส่งช่างซ่อมไปซ่อมที่สนามบิน A (เนื่องจากจะต้องเสียค่าที่พัก $100/1 คืน ถ้าส่งช่างไปซ่อมที่สนามบิน A) ซึ่งบิลนี้จะมาปรากฎอยู่ที่งบการเงินของผู้จัดการที่สนามบิน B

จากตัวอย่างนี้เองเราจะเห็นได้ว่า ผู้จัดการของสนามบิน B ทำหน้าที่ของเขาอย่างถูกต้องแล้ว ก็คือ การ minimize expense และเนื่องจาก ค่าที่พัก $100 นี้เอง จึงเป็นสาเหตุทำให้สายการบิน X สูญเสียรายได้ไม่ต่ำกว่า $100,000 สำหรับเที่ยวบินเที่ยวหนึ่ง

จะเห็นได้ว่า ผู้จัดการของสนามบิน B ได้จัดการในส่วนของตนอย่างถูกต้อง แต่ไม่ได้มองถึงผลได้รวมของบริษัท ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียอย่างมาก

ดังนั้น หากจะแก้ปัญหานี้ Michael Hammer และ James Champy จึงบอกว่า มันจำเป็นที่จะต้องมี คนกลางที่คอยประสานงานกับฝ่ายต่างๆ เช่น 100 workers จำเป็นที่จะต้องมี 10 supervisors 1 manager 3 assistant managers เป็นต้น ซึ่งการแก้ปัญหานี้จึงขัดกับหลักการ ประหยัดจากขนาด (Economies of Scale) ของ Adam Smith ที่นอกจากจะแบ่งงานกันทำแล้ว ยังต้องจ้างคนคอยประสานงาน ซึ่งค่าจ้างในการดำเนินงาน (Overhead Cost) เหล่านี้มีราคาแพงซะด้วย

หรือจะบอกได้อีกแง่นึงว่า การแบ่งงานกันทำ (Fragmented Organizations) เพียงอย่างเดียวในยุคโลกาพิวัตน์นั้น ก่อให้เกิด การไม่ประหยัดจากขนาด (Diseconomies of Scale) ซึ่งขัดกับที่ Adam Smith บอก และใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว

Leave a comment